วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

'ผลไม้ในรถเข็น' สังเกตก่อนซื้อปลอดภัยสารปนเปื้อน

การกินผลไม้เป็นเรื่องที่ดีและน่าส่งเสริม แต่ต้องดูองค์ประกอบหลายๆ อย่างจากแหล่งที่ซื้อผลไม้เหล่านั้นด้วยถึงจะได้รับคุณค่าจากผลไม้อย่างแท้ จริง!?
ผลไม้รถเข็น               หลังจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยสยาม ได้เก็บตัวอย่างผลไม้รถเข็นจากแหล่งจำหน่าย 38 แหล่ง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อทดสอบการปนเปื้อนในอาหาร (Test Kit) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 4 รายการ ได้แก่ ชุดทดสอบหายาฆ่าแมลงในอาหาร ชุดทดสอบกรดซาลิซิลิคในอาหาร (สารกันรา) ชุดทดสอบสีสังเคราะห์ในอาหาร และชุดทดสอบโคลิฟอร์มในอาหาร (เชื้อจุลินทรีย์)

               ปรากฏว่าพบผลไม้ 153 ตัวอย่าง มีการปนเปื้อนของแบคทีเรียโคลิฟอร์มเกินกว่ามาตรฐานกำหนดถึงร้อยละ 67.3 โดยพบการปนเปื้อนของสีสังเคราะห์ ในตัวอย่างผลไม้ 161 ตัวอย่าง ถึง  16.2 เปอร์เซ็นต์ และพบการปนเปื้อนของสารกันราหรือซาลิซิลิค ร้อยละ 40.7

               ส่วนผลไม้แปรรูปจำพวกของดองพบการปนเปื้อนหรือเจือปนของสารเคมีที่อาจเป็น อันตรายถึงของสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายถึงร้อยละ 64.2 ส่วนใหญ่เป็นฝรั่งดองบ๊วยที่มีสีเขียวเข้มและสีแดงเข้มจนม่วง แบ่งเป็นการปนเปื้อนของสีสังเคราะห์ ร้อยละ 32.1 และปน เปื้อนสารกันรา ร้อยละ 32.1 แต่ ไม่พบการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในผลไม้สด

               อ.สง่า ดามาพงษ์ ผู้ จัดการโภชนาการสมวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรมอนามัย ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผลไม้ในรถเข็นว่า เกี่ยวกับการบริโภคผลไม้ในรถเข็นว่า ทุกวันนี้การบริโภคผลไม้ของคนไทยมีแนวโน้มลดลง เนื่องมาจากหลายๆ ปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกระแสการบริโภคผลไม้ ความชอบส่วนบุคคล ผลไม้มีราคาสูง รวมทั้งผลไม้พื้นบ้านที่จะไปหาเก็บกินตามรั้วบ้านก็มีน้อยลง เมื่อไม่มีตามธรรมชาติก็ต้อง ซื้อกิน"ซื้อตามร้านค้าที่ตลาด และหนึ่งในนั้นก็คือ รถเข็น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากเพราะทำให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริโภคผลไม้ แต่การขายของรถเข็นก็เหมือนกับตลาด ร้านค้าที่บางครั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งทำให้ผู้ขายบางรายไม่คำนึงถึงผู้บริโภคจึงเกิดปัญหาตามมา"

               การขายผลไม้ในรถเข็นหลักๆ มีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน รูปแบบแรกมีลักษณะเป็นพ่อค้าคนกลาง ที่เป็นเจ้าของรถเข็นผลไม้หลายคัน โดยไปซื้อผลไม้จากที่ใดก็แล้วแต่ นำมาล้างจัดเรียงใส่รถเข็นเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะไปขาย แล้วก็มีคนหรือลูกจ้างมารับเพื่อนำไปขาย โดยกระจายไปทั่วในพื้นที่ต่างๆ บริเวณใกล้เคียงหรือในแหล่งชุมชน
        

ส่วนอีกรูปแบบจะเป็นรถเข็นของตัวเองไม่ ได้ไปรับจากใคร ซื้อผลไม้เอง นำมาทำเองและขายด้วยตัวเอง ซึ่งทั้ง 2 ช่องทางนี้ ถ้าไม่ได้มีการควบคุมอย่างใกล้ชิดและไม่มีการดูแล หรือไม่มีการอบรมผู้ประกอบการแล้วนั้น โอกาสที่ผู้บริโภคจะเสี่ยงต่อการได้รับสารปนเปื้อนจากผลไม้ และได้รับผลไม้ที่ไม่ถูกสุขลักษณะย่อมมีสูง

               ในปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคผลไม้จากรถเข็นมีความเสี่ยงอยู่หลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ที่ปนเปื้อนจากสารจุลินทรีย์เชื้อโรคต่างๆ ที่เกิดจากการที่แม่ค้า พ่อค้า ที่ไม่เตรียมผลไม้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้สะอาดพอ หรือไม่ให้ความสำคัญจึงทำให้มีเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนมาในผลไม้ได้



               รวมทั้งสารเคมีต่างๆ ที่ผู้ขายนำมาใช้เพื่อให้ผลไม้มีคุณลักษณะที่น่ากิน ตรงนี้เมื่อตรวจจะพบบ่อยครั้งซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้รับสารเหล่านี้ สะสมอยู่ในร่างกาย ที่สามารถนำไปสู่โรคมะเร็งหรือโรคอื่นๆ ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นพวก สารกันบูดฟอร์มาลิน อาจจะไม่ค่อยพบมากนักแต่ก็อาจมี บางรายใส่เข้าไปเพื่อให้ผลไม้แลดูสดตลอดเวลาน่าทาน
              
ยัง มีสีผสมอาหาร โดยสีประเภทนี้ไม่ใช่สีจากธรรมชาติไม่ใช่สีจากผลไม้ ซึ่งผู้บริโภคก็ไม่สามารถแยกได้ว่าสีที่ใช้นั้นเป็นสีอะไร เป็นสีของผลไม้จริงๆ หรือสีผสมอาหารที่ใช้ไม่ได้หรือสีย้อมผ้า จึงต้องระมัดระวังในส่วนนี้ด้วย

               รวมไปถึงสารผงกรอบหรือสารบอแรกซ์เพื่อจะให้เกิดความกรอบ ทำให้ขายดีมากยิ่งขึ้น โดยสารกลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายมากจนเกินไป ทำให้เกิดความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารได้ สารให้ความหวาน จำพวกแอสปาเทมซัคคาริน เป็นสารเคมีอีกชนิดที่มีอยู่ในผลไม้ที่ขายในรถเข็น ซึ่งสามารถบริโภคได้แต่ถ้าบริโภคบ่อยๆ ติดต่อกันนานๆ เป็นประจำก็จะนำไปสู่ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร มีการสะสมในร่างกายและนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็งได้ด้วยเช่นกัน"อีกประเด็น หนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือผู้ประกอบการ ตรงนี้คงขึ้นอยู่กับสุขนิสัยส่วนบุคคลมองข้าม คือผู้ประกอบการ ตรงนี้คงขึ้นอยู่กับสุขนิสัยส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นมือที่ไปหยิบจับผลไม้ หรือจะเป็นสุขภาพของผู้ขาย รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหมดล้วนทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ทั้ง สิ้น ฉะนั้นผู้ประกอบการจึงต้องให้ความใส่ใจในการประกอบอาชีพด้วยเพราะถ้าควบคุม ตรงนี้ได้ ก็จะสามารถควบคุมความปลอดภัยของผู้บริโภคได้ด้วยเช่นกัน"

               เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางออกของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลไม้จากรถเข็นมาทาน อ.สง่า กล่าวว่า ประการแรก คือ ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกทานผล ไม้สดมากกว่าผลไม้ดองหรือแช่อิ่ม เช่น ฝรั่ง มะละกอ ชมพู่ สับปะรด แตงโม แคนตาลูป เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องสารปนเปื้อนที่เป็นจำพวกสารเคมี รวมทั้งรอดพ้นจากสารกันบูดอย่างแน่นอน และที่สำคัญ การทานผลไม้สดจะทำให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุ รวมทั้งสารอาหารจากผลไม้ได้มากกว่าผลไม้ดอง โดยเฉพาะวิตามินซี ที่มีในผลไม้สดมากกว่าผลไม้ดองหลายเท่า"หากต้องการทานผลไม้ดอง จำเป็นต้องสังเกตในเรื่องของความสะอาด โดยดูว่าผู้ขายแต่งตัวเป็นอย่างไร มีผ้ากันเปื้อนหรือไม่ สุขภาพเป็นอย่างไร มือมีแผลหรือไม่ เมื่อหยิบจับผลไม้มีการสวมใส่ถุงมือหรือล้างมือหรือไม่ ใช้ผ้าเช็ดมือผืนเดียวเช็ดทุกอย่างหรือไม่ ในส่วนของรถเข็นสะอาดหรือไม่ ตลอดจนการจัดวางและความสดของผลไม้ด้วย โดยจะต้องสังเกตในหลายๆ ด้าน"

               ในส่วนของผลไม้ดองไม่แนะนำให้บริโภคเพราะจะได้คุณค่าทางโภชนาการน้อยมาก เสี่ยงต่อการได้รับสารปนเปื้อนสูง และที่สำคัญการกินผลไม้ดองสิ่งหนึ่งที่จะเข้าไปในร่างกายด้วย คือ ความเค็ม โดยเฉพาะโซเดียมที่มีอยู่ในเผลไม้ดอง ฉะนั้นการกินผลไม้ดองผบบ่อยๆ ทำให้ร่างกายมีโอกาสได้ผลไม้ดอง ฉะนั้นการกินผลไม้ดองผบบ่อยๆ ทำให้ร่างกายมีโอกาสได้รับโซเดียมสูงไปด้วยโดยจะทำให้เกิดภาวะความดันโลหิต สูง และไตทำงานหนัก เพราะยิ่งไตทำงานหนัก ทความดันโลหิตสูงก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้นคอีกประการหนึ่งที่อยากเตือน คือ การกินผลไม้ ถ้ามีรสที่พอดีอยู่แล้ว ซึ่งไม่ถึงกับเปรี้ยวมาก หรือแจืดจนเกินไป ไม่ควรจิ้มพริกเกลือ เพราะจะได้ความเค็มไปโดยไม่รู้ตัว เส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ ต่อมา คือ จะได้รับน้ำตาลไปโดยใช่เหตุ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน การกินผลไม้สดโดยไม่ต้องจิ้มพริกเกลือเป็นการทานผลไม้ที่ถูกต้องและเกิด ประโยชน์กับร่างกายสูงสุด

               โดยผลไม้ที่ควรเลือกทาน แบ่งตามระดับความหวานได้ 3 ประเภท จำพวกแรก คือ หวานจัด ได้แก่ ทุเรียน ขนุนสุก มะม่วงสุก ลิ้นจี่ ลำไย สามารถกินได้เป็นครั้งคราว เพราะทำให้อ้วนได้ ถ้าร่างกายนำไปใช้ไม่หมด

               ต่อมาหวานปานกลาง ได้แก่ มะละกอ ส้ม สับปะรด เงาะ กลุ่มนี้ทานได้ แต่อย่าบ่อยมากนัก สุดท้าย หวานน้อย ได้แก่ ส้มโอ ฝรั่ง แอปเปิ้ล แก้วมังกร ชมพู่ ลูกแพร ลูกพีช กลุ่มนี้ทานได้เป็นประจำ ทานได้ทุกเพศ ทุกวัย ยิ่งทานได้ทุกวันยิ่งดี เพราะดีต่อสุขภาพ  สามารถใช้ลดน้ำหนักได้ด้วยในกลุ่มคนที่ต้องการลดน้ำหนักส่วนเกินควรทานสลับ กันพยายามอย่าทานผลไม้ซ้ำกันทุกวัน ควรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยกินให้หลากหลายชนิด เพื่อจะได้รับสารอาหารที่หลากหลายด้วยเช่นกัน โดยเลือกทานในกลุ่มผลไม้ที่หวานน้อยจะเป็นประโยชน์กับร่างกายมากที่สุด

               การทานผลไม้เป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องที่อยากส่งเสริมอยากให้หันมากินผลไม้แทนอาหารว่างแทนขนมหวานเพื่อ สุขภาพที่ดี แต่ถ้าตัดสินใจจะซื้อผลไม้จากรถเข็นเมื่อไร ต้องคำนึงถึงในหลายๆ ด้านจะต้องสังเกตให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ จะต้องสังเกตให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งการหลีกเลี่ยงสารปนเปื้อนจากผลไม้โดยการซื้อผลไม้สดมาทำกินเองจะเป็น วิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุด.



สุขภาพดีด้วยการรับประทานผลไม้ตามธาตุ
              
ธาตุดิน คือ ผู้ที่เกิดราศีพฤษภ (ระหว่างวันคือผ้ที่เกิดราศีพฤษภ(รหว่างวันที่ 14 พ.ค.-14 มิ.ย.) ราศีกันย์ (ระหว่างวันที่ 17 ก.ย.-16 ต.ค.) ราศีมังกร (ระหว่างวันที่ 14 ม.ค.-12 ก.พ.)

               มักเสี่ยงกับโรคอ้วน น้ำหนักมากและโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน รวมถึงโรคทางเดินหายใจ ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้น้อย แต่ทานผักผลไม้ให้มาก

               ผลไม้ที่เหมาะกับธาตุดินคือ มะละกอสุก เงาะ มะพร้าว มะปราง กล้วยน้ำว้า เมลอน ลำไย ฝรั่ง มะม่วงสุก มังคุด

              
ธาตุน้ำ คือผู้ที่เกิดราศีกรกฎ (ระหว่างวันที่ 16 ก.ค.-16 ส.ค.) ราศีพิจิก (ระหว่างวันที่ 16 พ.ย.-15 ธ.ค.) ราศีมีน (ระหว่างวันที่ 14 มี.ค.-15 เม.ย.)

               มักพบกับปัญหาเรื่อง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหืด มักมีอาการไอและเป็นหวัดได้มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเสมหะเป็นพิษ ควรจะกินอาหารที่มีรสเปรี้ยวเพื่อกัดเสมหะแนะนำให้กินผลไม้วิตามินซีสูง

               ผลไม้ที่เหมาะกับคนธาตุน้ำคือ กระเจี๊ยบ มะยม ส้ม ลิ้นจี่ องุ่น ชมพู่ มะม่วง สละ ลองกอง กระท้อน สับปะรด มะขามป้อม สตรอเบอรี่ เชอรี่

              
ธาตุลม คือ ผู้ที่เกิดราศีเมถุน (ระหว่างวันที่ 15 มิ.ย.-15 ก.ค.) ราศีตุลย์ (ระหว่างวันที่ 17 ต.ค.-15 พ.ย.)ราศีกุมภ์ (ระหว่างวันที่ 13 ก.พ.- 13 มี.ค.)

               มักมีปัญหาเกี่ยวกับโรคข้อกระดูก โรคกระเพาะในระบบย่อยออาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก มีลมแน่น จุกเสียด และเป็นลม ผลไม้ได้ง่าย

               ผลไม้ประจำธาตุคือ แตงไทยแตงโม เงาะ น้อยหน่า แก้วมังกร มังคุด มะละกอ มันแกว ชมพู่

              
ธาตุไฟ คือผู้ที่เกิดราศีเมษ (ระหว่างวันที่ 16 เม.ย.-13 พ.ค.)รราศีสิงห์ (ระหว่างวันที่ 17 ส.ค. - 16 ก.ย.) ราศีธนู (ระหว่างวันที่ 16 1ธ.ค.-13 ม.ค.)

               มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหาร ผิวหนังแพ้ง่าย ผิวหนังอักเสบ ร้อนใน เป็นแผลในปากและท้องเสียบ่อย

               ผลไม้ประจำธาตุ คือ แตงโม มันแกว ชมพู่ มะละกอ แตงไทย มะพร้าว ลูกจาก ลูกตาลอ่อน พุทรา แอปเปิ้ล

               "ถ้า เป็นไปได้ควรเลือกทานผลไม้สดมากกว่าผลไม้ดองหรือแช่อิ่ม เช่น ฝรั่ง มะละกอ ชมพู่ สับปะรด แตงโม แคนตาลูป เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องสารปนเปื้อนที่เป็นจำพวกสารเคมี รวมทั้งรอดพ้นจากสารกันบูด และที่สำคัญ การทานผลไม้สดจะทำให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุเต็มที่"

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อควรคำนึงในการบริโภคกระเทียม



             กระเทียม เป็นที่รู้จักคุ้นเคย ในการใช้เพิ่มกลิ่นและรสชาติของอาหาร กระเทียมที่ใช้ในอาหารต่างๆ กับกระเทียมสดๆ ก็มีกลิ่นและรสชาติต่างกัน กระเทียมสดจะมีกลิ่นแรงและรสเผ็ดร้อน จนหลายคนแทบจะรับประทานกระเทียมสดไม่ได้
             กลิ่นและความเผ็ดร้อนของกระเทียมนี้ มีประโยชน์ ตั้งแต่สมัยโบราณ ประเทศแถบต่างๆ ที่มีการปลูกกระเทียม รวมทั้งประเทศไทย นอกจากใช้กระเทียมเพื่อปรุงแต่งอาหารแล้ว ยังใช้กระเทียมสด ซึ่งเน้นว่ายิ่งสด ยิ่งดี ในการขับลม รักษาอาการแน่นจุกเสียด หรือใช้กับผิวหนังในโรคกลากเกลื้อนได้ เพราะสารอัลลิซินสามารถยับยั้งการเติบโตของเชื้อรา แต่ขณะเดียวกัน กระเทียมก็ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ในคนที่ต้องทำงานที่ถูกกับเนื้อกระเทียมบ่อยๆ ผิวหนังอาจเกิดเป็นตุ่มน้ำ หรือเกิดการอักเสบได้ หรือในคนที่ได้ กลิ่นกระเทียมบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน ก็สามารถเกิดการแพ้เมื่อรับประทานกระเทียมได้ โดยอาจมีอาการคลื่นไส้ หัวใจเต้นแรง และอาการจะค่อยๆหายไปภายใน 3-4 ชั่วโมง กระเทียมที่ปรุงในอาหาร มักก่อให้เกิดการแพ้น้อยกว่ากระเทียมสด

ความแตกต่างของกระเทียมที่ปรุงอยู่ในอาหาร หรือผ่านกระบวนการหมักดองกับกระเทียมสด               ย้อนกลับไปที่กระเทียมสดก่อน ในกระเทียมสดนอกจากมีสารอัลลิชิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา แมลง ยังมีสารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน รวมทั้งวิตามิน และเกลือแร่ วิตามินในกระเทียม มีทั้งวิตามิน A, B-1, B-2 และ C เกลือแร่หรือแร่ธาตุ ก็มีหลายชนิด ตัวอย่างเช่น ซิลิเนียม เหล็ก สังกะสี ซึ่งด้านแร่ธาตุนี้จะมีในเนื้อกระเทียมได้มากหรือน้อย จะขึ้นกับดินที่ใช้ปลูกต้นกระเทียมด้วย เป็นที่ยอมรับว่า กระเทียมมีธาตุซิลิเนียมมากกว่าพืชอื่นๆ นอกจากนี้ในกระเทียมสดยังพบสารอะดิโนซีน (adenosine) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิกที่สร้าง DNA และ RNA ของเชลล์ในร่างกาย

             เมื่อกระเทียมผ่านการปรุง หมักดอง หรือถูกความร้อน เช่นกระเทียมเจียว กระเทียมดอง สารอัลลิซิน และวิตามินในกระเทียมจะถูกทำลาย สารอัลลิซินจะแตกสลายเป็นสารประกอบซัลไฟด์มากมายกระเทียมที่สับทิ้งไว้ สารอัลลิซินก็สลายตัวเองไปเหมือนกัน ดังนั้นกลิ่นของกระเทียมที่ผ่านการปรุงจึงเป็นผลจากสารประกอบซัลไฟด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งรสเผ็ดจะหายไปสารอัลลิซินเองมีลักษณะเป็นน้ำมัน เมื่อ สลายตัวจะได้สารประกอบทั้งที่มีคุณสมบัติละลายในน้ำและในน้ำมัน ในบางพันธ์ของกระเทียม สารอัลลิชินเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสารประกอบซัลไฟด์ได้เป็นร้อยชนิด ซึ่งตามรายงานการวิจัยต่างๆ กลับพบว่าสารที่เป็นผลจากการสลายตัวของอัลลิซิน มีประโยชน์มากมาย เช่น สามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล ละลาย ลิ่มเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น





การใช้กระเทียมเป็นยา               จนปัจจุบัน ยังไม่สามารถรับรองกระเทียมเป็นยารักษาโรคได้ หรือเป็นสมุนไพรทางเลือกในการรักษา (Alternative therapy) เพราะผลการใช้และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน กระเทียมจึงเป็นเพียงสมุนไพรเสริมสุขภาพ (Herb supplement) และมีบ้างในต่างประเทศที่ได้พยายามศึกษาทดลองให้กระเทียมเป็นสมุนไพรใช้ร่วม กับการรักษาปัจจุบัน (Complementary medicine)

ผลิตกระเทียมเสริม               ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากกระเทียมออกมาสู่ท้องตลาด เน้นการปราศจากกลิ่นของกระเทียม โดยถูกจัดเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมสุขภาพ การที่จะตัดสินใจใช้หรือเลือกใช้ ควรต้องคำนึงถึงหลายๆอย่าง ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่จะให้นี้ ไม่ได้เพื่อส่งเสริมหรือชักจูงให้ใช้ แต่ต้องการให้เป็นข้อมูล ข้อเท็จจริงในการตัดสินใจ

             1. สารสกัดน้ำมันกระเทียม เป็นการให้ความร้อนกับกระเทียมในน้ำมันพืช จะได้สารที่เรียกว่าอะโจอิน (ajoene) ในน้ำมัน มักบรรจุในแคปซูล มีผลการทดลองพบว่ามีผลดีในการละลายลิ่มเลือด
             2. กระเทียมสกัดผง มีทั้งที่บรรจุในแคปซูล หรือทำเป็นเม็ดเคลือบ เป็นการทำให้กระเทียมเป็นผงแห้ง อัลลิอิน กับ อัลลิอินเนส จึงไม่ทำปฏิกิริยากัน เมื่อรับประทานจะไปเกิด อัลลิซินในร่างกาย โดยต้องให้การผสมของอัลลิอิน กับ อัลลิอินเนส เกิดขึ้นในส่วนของลำไส้ มีรายงานผลการทดลอง พบว่า มีผลดีในการลดโคเลสเตอรรอลและไขมันประเภท LDL แต่ไม่มีผลกับไตรกลีเซอไรด์
             3. กระเทียมสกัดผงที่เตรียมจากการบ่มกระเทียม (aged garlic) ไว้ที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 2 ปี ก่อนนำมาใช้โดยบรรจุในแคปซูล ดังนั้นสารที่บรรจุในแคปซูล เป็นสารที่เกิดจาการสลายตัวของอัลลิซิน จนถึงขั้นสุดท้าย จะได้เป็นสารที่ละลายในน้ำและดูดซึมได้ดี ไม่มีกลิ่นของกระเทียม เหลืออยู่มีการทดลองเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้มาก และเป็นที่ยอมรับระดับหนึ่งว่า สามารถช่วยลด โคเลสเตอรอล และการจับตัวของเกล็ดเลือดมีผลลดความดันโลหิต มีผลต้านอนุมูลอิสระ และมีการพยายามศึกษาการใช้ในผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยเอดส์

ข้อควรคำนึงถึงในการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์กระเทียมเสริม             สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรคำนึงในการตัดสินใจที่จะทดลองใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ คือร่างกายหรือสุขภาพของเรานั่นเอง จะขอแบ่งเป็นกลุ่มคนสี่ลักษณะ ดังนี้

             1. คนปกติ สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว และไม่มีประวัติของครอบครัวที่อาจมีความเสี่ยง เกี่ยวกับความดันโลหิต โรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน ไขมันในหลอดเลือดสูง หรือเบาหวาน แทบไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เสริมของกระเทียมสกัดเลย เพราะประโยชน์อาจน้อยกว่า
        ข้อพึงระวัง... การบริโภคกระเทียมตามปกติ ร่วมกับการรับประทานอาหารครบทุกหมู่ และการออกกำลังกาย จะดีกว่าการบริโภคกระเทียมเสริม
             2. คนปกติ สุขภาพแข็งแรง ขณะนี้ไม่มีโรคประจำตัว แต่อาจมีประวัติครอบครัวที่มีความเสี่ยงต่อ อาการอย่างใดอย่างหนึ่งในข้อ 1. อาจใช้ผลิตภัณฑ์กระเทียม โดยเลือกที่ตรงกับอาการที่ต้องการบ่งใช้ แต่ควรใช้ขนาดน้อยที่สุด เป็นการเน้นการเสริม เพื่อป้องกัน ทั้งนี้ต้องไม่อยู่ในกลุ่มที่มีข้อพึงระวังที่จะกล่าวต่อไป
             3. คนที่เริ่มมีอาการความผิดปกติ อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมาในข้อ 1. และแพทย์วินิจฉัยว่ายังไม่ต้องใช้ยา เช่น ระดับโคเลสเตอรอลค่อนข้างสูงแต่ยังไม่ถึงระดับต้องใช้ยา แต่ให้ระวังเรื่องอาหาร เป็นต้น อาจใช้ผลิตภัณฑ์กระเทียม โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับอาการที่ต้องการบ่งใช้ควบคู่กับการปรับเรื่อง อาหาร เป็นต้น
             4. คนที่มีอาการความผิดปกติ อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมาในข้อ 1. และแพทย์วินิจฉัยว่าควรใช้ยา บำบัดรักษา ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์กระเทียมเสริม โดยไม่สอบถามความเหมาะสม และความจำเป็นกับแพทย์ที่รักษาหรือเภสัชกรก่อน ต้องไม่ลืมว่า ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพไม่ใช่ยา จะใช้บำบัดโรคภัยที่มีอยู่แทนยาไม่ได้ แต่อาจใช้ช่วยผลการรักษาด้วยยาได้ในบางกรณี ไม่ควรละจากยาและใช้ผลิตภัณฑ์เสริมแทน

กลุ่มที่มีข้อพึงระวังในการที่จะตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์กระเทียมเสริม             จากที่แยกตามกลุ่มสุขภาพที่ได้กล่าวไปแล้ว สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่น่าจะตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์กระเทียมเสริมได้ ให้พิจารณาต่อไปว่า ตนเองอยู่ในลักษณะใดต่อไปนี้ หรือไม่ ถ้าอยู่เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ก็ไม่น่าใช้ผลิตภัณฑ์กระเทียมเสริม ได้แก่
            
คนที่มีความดันโลหิตปกติต่ำ
            
คนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดปกติ เพราะกระเทียมมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยไปมีผลต่ออินซูลีน
            
คนที่ปกติถ้ามีเลือดออกแล้วเลือดมักหยุดช้า เพราะกระเทียมจะทำให้เลือดเหลว หยุดช้ามากขึ้น หากมีอุบัติเหตุจะทำให้เสียเลือดมาก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
            
คนที่ใช้ยาอื่นๆ อยู่ประจำ เช่น ยาแอสไพริน ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียลอยด์ ยาที่ต้องถูกเมตาบอไลต์ด้วยเอ็นไซม์ที่ตับฯลฯ กระเทียมไปมีผลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของยาเหล่านี้ อาจทำให้เกิดอันตรายของยาได้ หากต้องการใช้ร่วมกันควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อกำหนดขนาดของยาใหม่ เพื่อความปลอดภัย
            
สตรีมีครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนม เพราะยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยชัดเจน
            
ในคนที่แพทย์วินิจฉัยว่าต้องใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษา ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใช้กระเทียมเสริมแทนการใช้ยา เพราะไม่สามารถทดแทนผลการรักษาได้

             แม้ กระเทียมจะมีประโยชน์มากมายจากสารเคมีหลากหลายชนิดที่มีอยู่ในกระเทียม อย่าใช้กระเทียมเพื่อหวังป้องกันอาการต่างๆ ในขณะที่เรามีสุขภาพแข็งแรงดี เพราะเหมือนเรารับสารเคมีที่มี ผลกระทบต่อระบบที่ดีของร่างกาย ควรศึกษาทำความเข้าใจก่อนคิดใช้ แต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่าใช้ตามผู้อื่น ผลลัพธ์การใช้แต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน สิ่งสำคัญยังเป็นการรับประทานอาหารที่ครบห้าหมู่ พักผ่อน เพียงพอ และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

^ ^ C a l e n d a r ^ ^